ทฤษฎีการล้างด้วยอุลตร้าโซนิคส์

การล้างด้วยคลื่นอุลตร้าโซนิคส์  มีข้อดีกว่าการล้าง  แบบขัดถูธรรมดา  หลายประการ

การล้างด้วยอุลตร้าโซนิคส์ เป็นการล้างที่ทรงพลังและชาญฉลาด

ข้อดีของคลื่นอุลตร้าโซนิคส์  คือ

  1. สามารถทำให้เกิดการสั่นของเนื้อสารในระดับโมเลกุลได้  โดยทำให้เกิดการแยกตัวภายใน  ( Violent  Implosion )  จึงทำให้การล้างได้ผลดีมาก
  2. สามารถล้างในส่วนที่เป็นรอยแตก  รอยแยกของชิ้นงานได้
  3. สามารถล้างในส่วนที่เป็นรู  ซอกเล็ก ๆ  ต่าง ๆ  ได้   โดยที่ตามองไม่เห็น
  4. ไม่ทำลายผิวของชิ้นงาน  ไม่เกิดการขัดสี  หรือสึกกร่อน  ( Erosion )

ส่วนประกอบของเครื่องล้างอุลตร้าโซนิคส์    มี  3  ส่วนสำคัญคือ

  1. หัวอุลตร้าโซนิคส์  ( Ultrasonic  Transducer )
  2. ถัง ( Vessel )
  3. วงจรกำเนิดคลื่น  ( Ultrasonic  Generator )    โดยทำการเปลี่ยนพัลส์ทางไฟฟ้า  ให้เป็น  คลื่นความดัน  ( Pressure  Waves )  หรือ  คลื่นเสียง ( Sound  Waves )

ในที่นี้จะเป็น  Pressure  Waves  โดยวงจร  Generator  จะเปลี่ยนค่าพลังงานไฟฟ้าจาก  220/240 VAC ,  50 Hz  ให้เป็น  2,000 VAC,  40,000 Hz  เพื่อกระตุ้นให้หัวอุลตร้าโซนิคส์ทำงาน  จากนั้นพลังงานจาก  Pressure  Waves  จะถูกส่งถ่ายสู่ของเหลว  โดยทำให้ของเหลวมีลักษณะการแตกฟอง  ( Cavitation  Form )  ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการขัดล้างได้เป็นอย่างดี

 

โครงสร้างของหัวอุลตร้าโซนิคส์  ( Ultrasonic  Transducer )
โครงสร้างเป็นผลึกพิซีโออิเลคทริค  ( Piezoelectric  Material )  โดยมีชื่อเรียกว่า  Lead  Zirconate  Titanate

หมายเหตุ ผลึกพิซีโออิเลคทริค  ( Piezoelectric  Material ) ปัจจุบันนำมาใช้ขับเคลื่อนหัวฉีด คอมมอนเรล แทนขดลวด

 

หัวอุลตร้าโซนิคส์  มี  2  แบบ คือ

  1. Piezoelectric  Transducer  หัวแบบนี้มักติดตั้งไว้ก้นถัง  โดยใช้  Epoxy  ยึดติดไว้กับถัง
  2. Magnetostrictive  Transducer  หัวแบบนี้จะหนักกว่าแบบแรก  การติดตั้งจะใช้การบัดกรีไว้ด้านข้างถัง

ในบางกรณี  หัวอุลตร้าโซนิคส์  สามารถจุ่มลงในของเหลวได้โดยตรงแต่ต้องระวังเรื่องของไฟฟ้าซ๊อต  เพราะมีค่าสูงถึง  2000  VAC

 

คุณสมบัติของของเหลวที่มีผลต่อการล้างด้วยอุลตร้าโซนิคส์

  1. ความหนืด  ( Viscosity )  ของเหลวที่มีความหนืดน้อย  จะได้ผลดีกว่า
  2. ความหนาแน่น  ( Density )  ของเหลวที่มีความหนาแน่นมากจะทำให้การเกิดการแตกฟอง  ( Cavitation )  ได้ดีกว่า  รุนแรงกว่า  ทำให้การล้างได้ผลดีกว่า
  3. ความดันไอ  ( Vapor  Pressure )  ของเหลวที่มีความดันไอสูง  จะเหมาะกับเครื่องล้างอุลตร้าโซนิคส์มากกว่า  เพราะจะไม่เดือดเป็นไอเสียก่อน
  4. แรงตึงผิว  ( Surface  Tension )  ของเหลวที่มีแรงตึงผิวมาก  จะไม่ค่อยเหมาะกับเครื่องล้างอุลตร้าโซนิคส์ เพราะเกิด การแตกฟองยาก

หมายเหตุ :  น้ำกลั่น  ไม่เหมาะสมกับเครื่องล้างอุลตร้าโซนิคส์  เป็นอย่างยิ่ง

ผลของอุณหภูมิของของเหลว 
อุณหภูมิของของเหลวมีผลดังนี้

  1. ปริมาณการเกิด  Cavitation  ยิ่งอุณหภูมิ สูงยิ่งดี  แต่ต้องอยู่ระหว่าง  60 – 65  องศาซี
  2. ความรุนแรงในการล้าง

การเพิ่มอุณหภูมิที่เหมาะสม  ทำให้กำลังการล้างดีขึ้นมาก

 

การเลือกใช้ความถี่ที่เหมาะสม
เครื่องล้างอุลตร้าโซนิคส์  มี  3  ความถี่

  • 25  KHz  ให้ผลการล้างไม่ค่อยดี  และมีโอกาสทำให้ชิ้นส่วนเสียหายได้  เหมาะกับชิ้นงานขนาดใหญ่ 
  • 40  KHz  ให้ผลการล้างที่ดีกว่าแบบ  25  KHz  และมีปริมาณการเกิด  Cavitation  มากกว่าแบบ  25  KHz  ถึง  60  %
  • 64  KHz  ให้ผลการล้างดีกว่าแบบ  40  KHz  และมีปริมาณการเกิด  Cavitation  มากกว่าถึง  70 %  ในเชิงอุตสาหกรรม  นิยมใช้เครื่อง  40  KHz  มากที่สุด

 

 

ความถี่ของเครื่องล้างอุลตร้าโซนิคส์


มีตั้งแต่  20  -  120  kHz
แบบ  20  kHz  จะทำให้เกิด  bubble  หรือแตกฟองขนาด  170  micron  (ประมาณ  3 – 4 เท่าของเส้นผม ) 
เครื่องแบบ  68  kHz  จะเกิดการแตกฟองได้เร็วกว่าแบบ  20  kHz  ถึง  3  เท่า  และมีขนาด  bubble  ที่เล็กกว่า  3  เท่าด้วย

ของเหลวกับกำลังของอุลตร้าโซนิคส์
ของเหลวต่างชนิดกัน  ให้ลักษณะการแตกฟองต่างกัน  และต้องการกำลังของอุลตร้าโซนิคส์ต่างกัน  อย่างเช่น
น้ำที่อุณหภูมิ  25  องศาซี  ต้องการกำลัง  0.3  Watt/cm2   ที่ความถี่  20  kHz  เพื่อให้เกิดการแตกฟอง  ( Cavitation ) 
น้ำที่อุณหภูมิ  25  องศาซี  ต้องการกำลัง  0.5  Watt/cm2   ที่ความถี่  40  kHz  เพื่อให้เกิดการแตกฟอง  ( Cavitation ) 

ความเร็วของอนุภาค
ที่เครื่องอุลตร้าโซนิคส์  แบบ  20  kHz  มีค่าทางกายภาพดังนี้

  1.  ความดันประมาณ  35 – 70  kPa
  2. ความเร็วอนุภาคประมาณ  400  km/hr (เร็วกว่าตอนเครื่องบินกำลังขึ้น- take off)
  3. อุณหภูมิชั่วขณะ  ( Transient )  ประมาณ  5,000  องศาซี

ด้วยความเร็วขนาด  400 km/hr  ดังนั้นจึงเกิดสภาวะ  Shear  force (แรงเฉือน) ที่ผิวมากด้วย  จึงทำให้การล้างได้ผลดี

 

ความถี่ของเครื่องอุลตร้ากับการใช้งาน

  • ขนาดความถี่ต่ำ  ( 20 – 30 kHz )  เหมาะสำหรับล้างชิ้นส่วนขนาดใหญ่  และมีน้ำหนักมาก  เช่น  เสื้อสูบเครื่องยนต์  เสื้อเกียร์  เป็นต้น
  • ขนาดความถี่ปานกลาง  ( 30 – 60 kHz )  เหมาะสำหรับล้างชิ้นส่วนขนาดเล็ก  เช่น  วาล์ว , ประแจ , หัวฉีด  เป็นต้น  พบว่า  ขนาด  35 – 45 kHz  เป็นแบบที่เหมาะสมสำหรับงานอุตสาหกรรมมากที่สุด
  • ขนาดความถี่สูง  ( 60 – 120  kHz )  เหมาะสำหรับล้างชิ้นส่วนที่บอบบาง  หรืออุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์

 

 

Applications

การประยุกต์ใช้งานแบบต่างๆ

 

แปลและเรียบเรียง

โดย

มนตรี ไล้สมบูรณ์